ชาวโรมันสืบเชื้อสายมาจากอินโดยูโรเปียน(Indo-European) เช่นเดียวกับชาวกรีกถิ่นฐานของชาวโรมันอยู่ในบริเวณที่ราบตอนกลางของแลมอิตาลี ที่เรียกว่า ละติอุม(Latium) กลุ่มชาวละตินสร้างบ้านเรือนในแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำไทเบอร์ พวกนี้พพูดภาษาละตินซึ่งเป็นภาษาในตระกูลอินโดยูโรเปียน นอกจากชาวละตินแล้วยังมีชนเผ่าอื่นๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่ในส่วนต่างๆของแหลมอิตาลีสำคัญ คือ ชาวอีทรัสกัน(Etruscans) ตั้งถิ่นฐานอยู่บนฝั่งตะวันตกเหนือแม่น้ำไทเบอร์ขึ้นไป พวกอีทรัสกันเป็นพวกนักรบมีอารยธรรมของตนเอง และได้ขยายอำนาจลงมาครอบครองที่ราบละติอุมอันเป็นที่อยู่ของชาวละติน เลยลงไปทางทางใต้ของแหลมอิตาลี ชาวกรีกตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่ราบกัมปาเนียปัจจุบันคือเมืองเนเปิลส์และตรงปลายสุดของแหลมที่เรียกว่า แมกนากราเซีย เลยลงไปถึงเกาะซิซิลี ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นอาณานิคมกรีกและอีกส่วนเป็นของคาร์เทค(Cathage)
กรุงโรมเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 800-700 ปีก่อนคริสตกาล เริ่มมาจากหมู่บ้านเล็กๆตามเนินเขาใกล้แม่น้ำไทเบอร์มีตราดร่วมกันและสถานที่ที่เรียกว่า ฟอรัม(Forum) เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การค้า และที่ตั้งศาสนสถาน เนื่องจากโรมเคยอยู่ใต้การปกครองของพวกอีทรัสกันซึ่งเป็นชนชาตินักรบ และมีความเจริญมาก่อน ทำให้ชาวโรมันได้รับอิทธิพลความเจริญต่างๆ จากอีทรัสกันหลายประการ เช่น การสร้างบ้านด้วยอิฐ มุงหลังคาด้วยกระเบื้อง การระบายน้ำจากบริเวณที่ลุ่มในหุบเขา การสร้างถนนหนทาง การนับถือเทพเจ้า เป็นต้น ชาวโรมันได้ร่วมมือกันขับไล่กษัตริย์อีทรัสกันออกไปจากโรมในปี 509 ก่อนคริสตกาล และได้สถาปนาโรมเป็นสาธารณรัฐอิสระ
ฟอรัม (Forum)
โครงสร้างทางสังคมของโรมัน สืบทอดมาจากโครงสร้างทางสังคมสมัยที่โรมันอยู่ใต้การปกครองของอีทรัสกันโดยแยกพลเมืองเป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีสิทธิทางสังคมแตกต่างกันดังนี้ คือ
- พวกแพทริเชียน(Patrician) ได้แก่ พวกชนชั้นสูง เป็นครอบครัวที่สืบทอดมาจากบรรพุรุษเดียวกัน หัวหน้าครอบครัว(Pater familias) เป็นผู้ทรงอำนาจเด็ดขาด(Potesta) ภายในครอบครัว ครอบครัวเหล่านี้เข้ามาร่วมกันเป็นหมู่(Gens) สมัยที่โรมมีกษัตริย์ปกครอง อำนาจทางการเมืองเศรษฐกิจ การทหาร ตลอดจนทางศาสนา ตกอยู่กับพวกแพทริเชียนซึ่งเป็นสมาชิกสภาเซเนท มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำกษัตริย์ในนโยบายต่างๆ และควบคุมนโยบาย และมติต่างๆของสภาประชาชน
- พวกเพลเบียน(Plebeian) คือ ประชาชนโรัมนส่วนใหญ่ ได้แก่ พวกประกอบอาชีพค้าขาย ช่างฝีมือ กสิกรรายย่อย และพวกรับจ้างแรงงาน พวกเพลเบียนบางกลุ่มเป็นคนมั่งคั่งมีทรัพย์สิน แต่ฐานะต่ำกว่าพวกแพทริเชียนในทางสังคมและการเมือง และไม่มีสิทธิเป็นทหาร
- พวกคลีเอนต์(Clients) คือ พวกที่มีฐานะต่ำที่สุด มีอาชีพทำนาในที่ดินของแพทรีเชียน โดยได้รับส่วนแบ่งในผลิตผลที่ตนทำได้ตอบแทนค่าแรง พวกคลีเอนต์พึ่งพวกแพทริเชียนทางเศรษฐกิจและอยู่ในความคุ้มครองดูแลของพวกแพทริเชียน
แผนที่แสดงอาณาเขตของจักรวรรดิโรมัน
ชาวโรมันเป็นคนทำงานหนัก ขยันขันแข็ง อดทน มีความเป็นอยู่เรียบง่าย แต่ก็หรูหรา มีระเบียบวินัย และตระหนักในหน้าที่รับผิดชอบสูง ชาวโรมันส่วนใหญ่ทำมาหากินด้วยการเป็นกสิกร ทำงานในที่ดินในยามสันติ และจับอาวุธขึ้นรบอย่างเข้มแข็ง กล้าหาญ ในยามสงคราม
ชาวโรมันนิยมอาบน้ำสาธารณะ และการกีฬาที่นิยมชมกันมาก ได้แก่ การแข่งรถศึกที่สนามแข่งรถศึกเทียมม้า(Circus Maximus) และกีฬาที่นิยมชมกันอีกประการหนึ่งแต่ถือว่าป่าเถื่อนมากๆ คือ การต่อสู้แบบกลาดิเอเตอร์ตามสนามแข่งขันสนามใหญ่ที่สุด ได้แก่ สนามประลองยุทธหรือโคลอสเซียม(Colossem) ในกรุงโรม ในการบันเทิงแบบนี้มีการต่อสู้ระหว่างสัตว์กับนักสู้ถืออาวุธหรือแม้แต่ชายหญิงมือเปล่าซึ่งถูกตัดสินประหารชีวิตแล้วให้ต่อสู้กันถึงตาย
สนามแข่งรถศึกเทียมม้า(Circus Maximus)
การต่อสู้แบบกลาดิเอเตอร์
โคลอสเซียม(Colossem)
การดำเนินชิวิตในเมืองของชาวโรมันแตกต่างจากที่เคยปรากฎมาก่อนในอารยธรรมกรีกหลายประการ โดยเฉพาะการใฝ่หาความสำราญในสถานที่อาบน้ำสาธารณะ การใฝ่หาความเพลิดเพลิน ความตื่นเต้นในอัฒจันทร์ชมการต่อสู้ คลอดจนการเช่าอยู่อาศัยอย่างแออัดรวมกันหลายๆหน่วยในอาคารสูงหลายชั้น เป็นต้น
ชนชาติโรมันเป็นชนชาตินักรบโดยกำเนิด มีความอดทน หล้าหาญ และแข็งแกร่ง ประกอบกับมีคุณลักษณะที่ดีมีระเบียบ ทำให้ประสบชัยชนะในดินแดนทุกหนทุกแห่งที่กองทัพโรมันไปถึง โดยเฉพาะในสมัยของจูเลียส ซีซาร์ เมื่อรบได้ดินแดนใดแล้วก็มักสร้างถนนเชื่อมกรุงโรม เพื่อใช้เป็นเส้นทางลำเลียงเสบียงอาหาร และควบคุมดินแดนเหล่านั้น ถนนของโรมันขึ้นชื่อในความแข็งแกร่งทนทานที่ยังคงใช้มาจนทุกวันนี้ นอกจากถนนแล้วโรมันยังได้สร้าง ป้อมปราการ(Colonies) ตามเมืองหน้าด่านที่อยู่ต่างพรมแดนเพื่อป้อมกันศัตรูภายนอก โรมมีกองทหารที่ดี เรียกว่่า กองทหารลีเจน(Legion) ขึ้นชื่อในความคล่องแคล่วว่องไว ระเบียบวินัยดี และมีอาวุธที่มีประสิทธิภาพ ด้วยปัจจัยเกื้อกูลเหล่านี้ทำให้โรมแผ่อำนาจออกไปทั่วทุกสารทิศ
กองทหารลีเจน(Legion)
การปกครองในสมัยโรมัน อาจจำแนกได้เป็น 3 สมัย คือ
1. สมัยกษัตริย์
ตั้งแต่ระยะก่อตั้งจนถึง 600 ปีก่อนคริสตกาล การปกครองมีองค์กร คือ
- ฐานะและอำนาจของกษัตริย์ คือ กษัตริย์เป็นชาวอีทรัสกัน(ไม่ใช่ชาวโรมัน) เป็นตำแหน่งที่เลือกโดยราษฎรและอำนาจของพระองค์ถูกจำกัดไว้ด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเผ่า พระองค์ทรงมีอำนาจพิพากษาคดีและทำให้กฎหมานมีผลบังคับใช้โดยตรง ลงโทษผู้ก่อให้เกิดความไม่สงบ แต่ไม่มีสิทธิยกโทษให้ผู้ผิดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากที่ประชุม
- สภาประชาชน(Assembly) คือ ที่ประชุมของราษฎรสามัญที่เรียกว่า พวกเพลเบียน(Plebeians) ที่เป็นชายฉกรรจ์ทุกคน มีอำนาจยับยั้งในข้อเสนอของกษัตริย์ เป็นสภาที่มีสิทธิเพียงอนุมัติหรือยับยั้งข้อเสนอต่างๆเท่านั้น ไม่มีสิทธิเรื่องกฎหมายหรือเสนอเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆ
- สภาซีเนท(Senate) คือ ที่ประชุมผู้อาวุโสหรือชนชั้นสูงที่เรียกว่า แพทริเซียน(Patricians) คือ พวกหัวหน้าเผ่าต่างๆ, ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ กษัตริย์ก็เป็นขุนนางหรือหัวหน้าเผ่าคนหนึ่งที่สมาชิกสภาเลือกขึ้นและถวายอำนาจให้
สภาซีเนท(Senate)
แล้วในปี 509 ก่อนคริสตกาล ชาวเมืองโรมก็ลุกฮือขึ้นต่อสู้กับกษัตริย์ทาร์ควินผู้ผยอง ซึ่งเป็นชาวอีทรัสกันผู้ครองโรม ได้สำเร็จ
จากนั้นโรมก็เข้าสู่สมัยสาธารณรัฐโรมัน
2. สมัยสาธารณรัฐ(Requblic)
อยู่ในช่วงประมาณ 600-27 ปีก่อนคริสตกาล การปกครองในช่วงแรกมีลักษณะเป็นแบบอภิชนาไตย คือ สภาซีเนทซึ่งเป็นสภาของชนชั้นสูงจะผูกขาดอำนาจต่างๆ เป็นผู้เลือกกงศุล(Consul) 2 คนขึ้นเพื่อทำหน้าที่ประมุขแทนกษัตริย์ และยังขยายอิทธิพลไปควบคุมเงินและมีสิทธิยับยั้งการกระทำทุกอย่างของสภาประชาชน และเป็นผู้ตัดสินใจในกรณีกงศุล 2 คน วิวาทกัน แต่หลังจากที่พวกสามัญชนได้ต่อสู้กับพวกชนชั้นสูง จนพวกชนชั้นสูงยอมให้พวกสามัญชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองด้วยแล้ว การปกครองจึงมีลักษณะเป็นการปกครองแบบผสมผสานระหว่างอภิชนาธิปไตยและประชาธิปไตย
จะเป็นด้วยการปกครองที่ผลัดกันมีอำนาจ ต่างคนต่างให้เกียรติฟังความคิดเห็นของกันและกันหรือไม่ ไม่อาจทราบ ที่ทำให้โรมันลุกขึ้นมามีอำนาจเหนือดินแดนอิตาลีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเมืองเล็ก เมืองน้อยต่างๆ รวมถึงเมืองของอีทรัสกัน แซมไมท์ และเมืองแมกนา กราเซีย ในศตวรรตเดียวเท่านั้น และสงครามครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึงก็เกิดขึ้นในการขยายอาณาเขตของโรมัน เป็นศึกสงครามที่ทำกับดินแดนคาร์เทค เป็นสงครามพิวนิคครั้งที่ 1(Punic War I) ครั้งนี้คาร์เทคแพ้ไป หลังจากนั้น ก็เกิดสงครามพิวนิคครั้งที่ 2(Punic War II) สงครามครั้งนี้ ฮานนิบาล เป็นผู้นำกองทัพคาร์เทคเข้าต่อสู้กับกองทัพโรมัน เขาสามารถยกกองทัพช้างข้ามแม่น้ำ ข้ามทะเล ข้ามเขาแอลฟ์มาถึงดิแดนโรมันในฤดูหนาว แล้วฮานนิบาลยังสามารถนำกองทัพของเขาให้เอาชัยชนะต่อกองทหารโรมันได้ตามที่ต่างๆมากมาย และที่สำคัญ คือ ที่เมืองคานาเอ(Canae)
สงครามพิวนิคครั้งที่ 2 (Punic War II)
แม้จะชนะชาวโรมันมาได้เกือบหมดประเทศ แต่สุดท้ายแล้ว ฮานนิบาล กลับต้องระหกระเหินจากกองทัพของตนเองไปหลบซ่อนตามป่าหนีการตามล่าของโรมัน ในที่สุดก็กินยาตายหนีการถูกจับเป็นเชลย สงครามพิวนิคทั้งสองครั้งนี้อยู่ในช่วงประมาณ ปี 264-164 ก่อนคริสตกาล
หลังจากสงครามพิวนิคนี้ ดูเหนื่อนโรมจะกลายเป็นเจ้าแห่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โรมสามารถสยบมาซิโดเนีย(ปี 168 ก่อนคริสตกาล) กรีซ(ปี 146 ก่อนคริสตกาล) และบางส่วนของเอเชียไมเนอร์(ปี 133 ก่อนคริสตกาล) และในช่วงเวลาที่โรมเข้มแข็งที่สุด โรมกลับมีรอยร้าวเสียเอง รอยร้าวนั้นก็ คือ สงครามกลางเมืองระหว่างชาวโรมันด้วยกัน เป็นการรบเพื่อชิงอำนาจ คู่หนึ่ง คือ นายพลมาริอุสรบกับนายพลซัลลา ส่วนอีกคู่ คือ จูเลียส ซีซาร์ รบกับ ปอมเปย์
ปอมเปย์
จูเลียส ซีซาร์
ปอมเปย์(ตายที่อียิปต์)พ่ายแพ้ต่อจูเลียส ซีซาร์ ไม่นานจูเลียส ซีซาร์ก็โดดเด่นมากขึ้น ซีซาร์รวบอำนาจซึ่งเคยเป็นอำนาจของกงสุล ทรีบูนและหัวหน้าพระมาเป็นของตน แต่งตั้งพรรคพวกให้ได้รับตำแหน่งสูงๆ แล้วพวกขุนนางที่เสียผลประโยชน์เพราะการนี้เริ่มมีความไม่พอใจซีซาร์มากขึ้นเพราะระบบการปกครองแบบรวบอำนาจของซีซาร์ ขุนนางพวกนี้จึงวางแผนการกำจัดซีซาร์ พอซีซาร์กลับจากอียิปต์มาถึงโรมไม่ถึงปี จูเลียส ซีซาร์ ก็ถูกขุนนางพวกนี้ที่ไม่พอใจซีซาร์ใช้มีดแทงซีซาร์ ฟุบตายอยู่ตรงรูปปั้นของปอมเปย์ในสภาซีเนท
จูเลียส ซีซาร์ ถูกรุมสังหารในสภาซีเนท
3. สมันจักรวรรดิ
ออกุสตุส ซีซาร์ จักรพรรดิพระองค์แรกแห่งโรม
หลังจากนั้นทายาทของจูเลียส ซีซาร์ ชื่อ ออคตาเวียน ซึ่งเป็นหลานของซีซาร์ ได้ต่อสู้เรียกร้องสิทธิในการปกครอง และได้เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกแห่งจักรวรรดิโรมัน ชื่อ ออกุสตุส ซีซาร์(ออคตาเวียน) เริ่มต้นสมัยจักรวรรดิแห่งโรม
ในสมัยของออกุสตุส ซีซาร์ มีการจัดเก็บภาษีอย่างเป็นระบบ โดยถือว่าทุกคนต้องเสียภาษีให้รัฐ พระองค์กลายเป็นบุรุษที่รวยที่สุดในกรุงโรม พระสามารถจ่ายเงินบำนาญให้ทหารด้วยเงินส่วนพระองค์เอง นอกจากนั้นยังจ่ายเงินซ่อมแซมท่อน้ำในโรม ก่อสร้างอาคารสาธารณประโยชน์ต่างๆ ทางด้านการทหารพระองค์ทรงจัดตั้งกองทหารประจำมณฑลขึ้น แทนที่จะรอเรียกเกณฑ์ทหารไปรบเมื่อเกิดสงครามเสียก่อนอย่างในอดีต
การบริหารของออกุสคุส ซีซาร์ นำความเจริญงอกงามมาสู่โรมอีกครั้ง ประชาชนพอใจที่บ้านเมืองอยู่อย่างสงบ แม้พระองค์จะสิ้นพระชนม์ แต่ความสงบเช่นนี้ยังคงอยู่ ตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสตกาล จนถึง ค.ศ.180 ชาวโรมเริ่มใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือยขึ้นเรื่อยๆ พวกที่ทำงานก็มีแต่ทาสเท่านั้น
และจักรพรรดิที่นับว่าทำความเจริญมากที่สุดอีกพระองค์ คือ จักรพรรดิเฮเดรียน(ขึ้นครองราชย์เมื่อ ค.ศ.177-178) พระองค์เป็นจักรพรรดิที่มีความเข้มแข็งทางการทหารมากพอๆกับการสร้างสิ่งสาธารณสถานต่างๆ เช่น กำแพงเฮเดรียน ซึ่งสร้างไว้ป้องกันอนารยชนที่จะเข้ามารุกราน วัดเซนต์แองเจโล และวิลล่าอาเครียน่าในทิโวล
จักรพรรดิคอนสแตนติน
แผนที่แสดงอาณาเขตของจักรวรรดิโรมันตะวันตกและโรมันตะวันออก
หลังจากนี้ ศาสนาคริสต์เริ่มเข้ามีอิทธิพลในจักรวรรดิโรมัน ความเสื่อมก็เริ่มมาเยือนจักรวรรดิโรมันด้วย สมัยของจักรพรรดิคอนสแตนติน ทรงประกาศพระราชกฤษฎีกาแห่งเมืองมิลานขึ้นใน ค.ศ.313 และเป็นพลังอย่างเดียวที่สามารถรวมเอาชาวเมืองให้ลุกขึ้นต่อสู้กับศัตรู คือ พวกอนารยชนที่เปิดศึกเข้ามารุกรานในช่วงศตวรรษที่ 3 ได้ จนจักรวรรดิโรมันต้องแยกออกเป็น 2 ส่วนในการปกครอง ประมาณ ค.ศ.395 เป็นจักรวรรดิโรมันตะวันตก ศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม และจักรวรรดิโรมันตะวันออก ศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนตินโนเปิล อย่างไรก็ตาม จักรวรรดิโรมันตะวันตก (ทางด้านกรุงโรม) ก็ล่มสลายในปี ค.ศ.476 โดยพวกอนารยชนเผ่าเยอรมัน สามารถเข้าตีกรุงโรมจนแตกได้สำเร็จ ในขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันออกสามารถดำรงอยู่ได้ แต่ก็ล่มสลายในปี ค.ศ.1453
("จะว่าไป ความยิ่งใหญ่ที่เต็มไปด้วยความฟุ่มเฟือยแบบโรมันนี้ก็มีพิษมีภัยมากเหมือนกัน ถึงเวลาล้มก็ล้มไม่เป็นท่าเลยจริงๆ ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่สอนให้เรารู้ถึงความผิดพลาดเก่าๆที่บรรพบุรุษทำมาแล้ว เรื่องของโรมันเรื่องนี้ก็น่าจะให้รู้ในด้านเตือนสติกับความฟุ่มเฟือนและหวงอำนาจได้บ้างทีเดียว")
อ้างอิง
- มัลลิกา มัสอูดี และคณะ. อารยธรรมมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทธบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2548.
โรมยิ่งใหญ่มากกก
ตอบลบสุดยอดด!!!
ตอบลบโรมันจงเจริญ
ตอบลบโรมัน หมูหัน อย่อย
ตอบลบ